Friday, April 19, 2024
Latest:
News

รมว.คมนาคมร่วมประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย – ญี่ปุ่น (High Level Joint Commission: HLJC) ครั้งที่ 5

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย – ญี่ปุ่น (High Level Joint Commission: HLJC) ครั้งที่ 5 ผ่านระบบทางไกล โดยมีดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายโมเทกิ โทชิมิทสึ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น เป็นประธานการประชุมร่วมกัน และผู้แทนระดับสูงของฝ่ายไทย  ร่วมด้วยเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ธีระยุทธ วานิชชัง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม และสิงห์ทอง ลาภพิเศษพันธุ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว เข้าร่วมประชุมฯ

การประชุมดังกล่าว ได้มีการหารือในประเด็นด้านการพัฒนาความเชื่อมโยงในไทย และการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เน้นย้ำการให้ความสำคัญการดำเนินโครงการความร่วมมือด้านคมนาคมไทย – ญี่ปุ่น ในปัจจุบันทั้งการจัดทำแผนแม่บทขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 (M-MAP2) การพัฒนาพื้นที่บางซื่อสู่เมืองอัจฉริยะ การศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพมหานคร – เชียงใหม่ ความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางถนน และล่าสุด (5) บันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคม และ กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวญี่ปุ่น (MLIT) ด้านแผนงานนโยบายและเทคโนโลยีการจราจร โดยเป็นการให้ความร่วมมือทางวิชาการให้ก่อเกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมในการแปรนโยบายไปสู่การปฏิบัติ

ส่วนประเด็นด้านการพัฒนาความเชื่อมโยงในไทย และการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เน้นย้ำการให้ความสำคัญการดำเนินโครงการความร่วมมือด้านคมนาคมไทย – ญี่ปุ่น ในปัจจุบัน ทั้งการจัดทำแผนแม่บทขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 (M-MAP2) การพัฒนาพื้นที่บางซื่อสู่เมืองอัจฉริยะ การศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพมหานคร-เชียงใหม่ ความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางถนน และล่าสุด (5) บันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคม และ กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวญี่ปุ่น (MLIT) ด้านแผนงานนโยบายและเทคโนโลยีการจราจร โดยให้ความร่วมมือทางวิชาการให้ก่อเกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมในการแปรนโยบายไปสู่การปฏิบัติ

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยังได้นำเสนอแผนแม่บทโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองกับระบบราง (MR-Map) ความคิดริเริ่มในก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองควบคู่ไปกับระบบรางเป็นเส้นทางเดียวกัน ริเริ่มใน 4 เส้นทางที่มีศักยภาพนำร่อง ได้แก่ ชุมพร – ระนอง เชื่อมโยงระหว่างทะเลอันดามัน – อ่าวไทย หนองคาย – ท่าเรือแหลมฉบัง กาญจนบุรี – อุบลราชธานี และวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 โดยผลการศึกษาเบื้องต้นจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 4 ของปีพ.ศ. 2564 ที่จะสอดรับกับนโยบาย Indo-Pacific เพื่อสร้างสรรค์โครงข่ายการพัฒนาเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืนให้กับภูมิภาคอาเซียน พร้อมกันนี้ ได้ให้ความเชื่อมั่นสำหรับการเดินหน้าพัฒนาโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของไทยเพื่อความเชื่อมโยงในทุกระดับ สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของไทยและภูมิภาค

ด้านวาตะนาเบะ ทาเคยูกิ (H.E. Mr. WATANABE Takeyuki) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวญี่ปุ่น เห็นพ้องกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ทั้งการแสวงหาแนวทางลดต้นทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพมหานคร-เชียงใหม่ และการดำเนินการร่วมกันภายใต้บันทึกความร่วมมือฯ โดยยกตัวอย่างการพัฒนาโครงการอุโมงค์ทางลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา (นราธิวาส-สำโรง) ตลอดจนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ (Quality Infrastructure) และการดำเนินงานเชิงรุกกับกระทรวงคมนาคม ในการพัฒนาระบบรางและการเชื่อมโยงในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงต่อไป

ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวญี่ปุ่น กล่าวถึงความสำเร็จของโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ที่ได้เปิดทดลองให้บริการแล้ว เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ในที่ประชุมฯ ได้มีการหารือกันในประเด็นการประสานความร่วมมือระหว่างโมเดลเศรษฐกิจ Bio Circular Green (BCG) Economy ของไทย กับ Green Growth Strategy ของญี่ปุ่น การยกระดับความร่วมมือในด้านค้า การลงทุน การพัฒนาอุตสาหกรรมและการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจระหว่างกัน รวมถึงประเด็นด้านสาธารณสุข เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 อย่างยั่งยืน