Friday, April 26, 2024
Latest:
News

ครม. อนุมัติโครงการจัดเตรียมความพร้อมในการให้บริการการเดินอากาศ ณ สนามบินอู่ตะเภา ของบริษัท วิทยุการบิน

การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มื่อวันที่ 14กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 ซึ่งมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ สันติไมตรี (หลังนอก) โดย ครม.มติอนุมัติโครงการจัดเตรียมความพร้อมในการให้บริการการเดินอากาศ ณ สนามบินอู่ตะเภา ของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (โครงการฯ) วงเงินลงทุน 1,256 ล้านบาท ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และอนุมัติการจัดหาแหล่งลงทุนโครงการฯ โดยจัดหาเงินกู้ระยะยาว วงเงิน 1,256 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลัง (กค.) ไม่ค้ำประกันเงินกู้

สาระสำคัญของเรื่อง

คค. รายงานว่า การดำเนินโครงการฯ จะเป็นการจัดเตรียมความพร้อมในการให้บริการการเดินอากาศ ณ สนามบินอู่ตะเภา ซึ่งปัจจุบันกองทัพเรือ (ทร.) เป็นผู้ให้บริการการเดินอากาศ ณ สนามอู่ตะเภา โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สนามบินอู่ตะเภามีเที่ยวบินเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 65 เที่ยวบินต่อวัน หรือประมาณ 24,000 เที่ยวบินต่อปี ให้สามารถเปิดให้บริการการเดินอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐาน ภายในปี พ.ศ. 2568 และให้สอดคล้องตามกรอบระยะเวลาการดำเนินโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่งคณะกรรมการบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ในคราวประชุมครั้งที่ 14/2564 เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 และครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2565 เห็นชอบด้วยแล้ว โดยมีสาระสำคัญของโครงการ สรุปได้ ดังนี้

สาระสำคัญของโครงการฯ

1.วัตถุประสงค์ เพื่อเตรียมความพร้อมการดำเนินงาน 3 ด้านดังนี้

  • 1) ด้านบริการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Services : ATS) ที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพสามารถรองรับปริมาณเที่ยวบินที่สนามบินอู่ตะเภาได้ตามเป้าหมาย
  • 2) ด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ให้ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ สามารถรองรับปริมาณเที่ยวบินที่สนามบินอู่ตะเภาได้ตามเป้าหมาย
  • 3) ด้านบุคลากรให้ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อการให้บริการการเดินอากาศในส่วนที่เกี่ยวข้องที่สนามบินอู่ตะเภา

2.เป้าหมาย สนามบินอู่ตะเภาสามารถเปิดให้บริการการเดินอากาศโดย บวท. ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐาน ภายในปี พ.ศ. 2568 ทั้งนี้ คาดว่าจะมีปริมาณการจราจรทางอากาศ ณ สนามบินอู่ตะเภาอยู่ที่ประมาณ 241,100 เที่ยวบิน ในปี พ.ศ. 2591

3.ขอบเขตการดำเนินโครงการ ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่

  • 1) ด้านก่อสร้าง ก่อสร้างอาคารหอควบคุมการจราจรทางอากาศและพื้นที่สนับสนุน ความสูงประมาณ 59 เมตร จากระดับพื้นดิน ก่อสร้างอาคารสำหรับติดตั้งระบบ/อุปกรณ์เครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ (Communication, Navigation, and Surveillance Services : CNS) ประกอบด้วย อาคาร 3 กลุ่ม ได้แก่ อาคารระบบวิทยุสื่อสาร (Communication) เป็นอาคารสำหรับติดตั้งระบบ/อุปกรณ์เครื่องรับ – ส่งวิทยุสื่อสาร อาคารระบบช่วยการเดินอากาศ (Navigation) ป็นอาคารสำหรับติดตั้งระบบ/อุปกรณ์ช่วยการเดินอากาศและอาคารระบบติดตามอากาศยาน (Surveillance) สำหรับติดตั้งระบบ/อุปกรณ์ติดตามอากาศยานรองรับการใช้งานเป็นหอควบคุมการจราจรทางอากาศสำรองของสนามบินอู่ตะเภา
  • 2) ด้านการจัดหาและติดตั้งระบบและอุปกรณ์ ช่น ระบบการสื่อสาร (Communication System) ระบบวิทยุสื่อสาร  แบบคลื่นวิทยุย่านความถี่สูงและคลื่นวิทยุย่านความถี่สูงมาก (VHF/UHF) ะบบช่วยการเดินอากาศ (Navigation System) ประกอบด้วย ระบบช่วยการเดินอากาศแบบ ILS/DME CAT II (เครื่องช่วยการเดินอากาศในการนำอากาศยานและลงจอด) พร้อมอุปกรณ์สนับสนุนและระบบช่วยการเดินอากาศแบบ DVOR/DME (เครื่องช่วยเดินอากาศระบุตำแหน่งและระยะห่าง) เตรียมการสำหรับสนามบิน ซึ่งต่อไปจะต้องมีการกำหนดแนวทางการติดตั้ง/ใช้งานระบบช่วยการเดินอากาศดังกล่าวนี้ร่วมกัน เนื่องจากสนามบินจะไม่สามารถติดตั้งระบบซ้ำซ้อนกันได้ ระบบติดตามอากาศยาน (Surveillance System) ระบบจัดการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Management System : ATMS) ได้แก่ ระบบจัดการจราจรทางอากาศสำหรับ Aerodrome Control Service – ระบบสนับสนุนอื่นๆ สำหรับบริการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Services : ATS) เช่น CCTV สำหรับบริการควบคุมการจราจรทางอากาศ
  • 3)ด้านบุคลากร ประกอบด้วย สรรหาบุคลากร ประกอบด้วย พนักงานประจำ รวม 79 อัตรา จ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศบริเวณสนามบิน ปฏิบัติงาน U-Tapao Aerodrome Control ณ หอควบคุมการจราจรทางอากาศอู่ตะเภา จำนวน 35 อัตรา และเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศเขตประชิดสนามบินกรุงเทพปฏิบัติงาน Bangkok Approach Control ณ ศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศเขตประชิดสนามบินกรุงเทพ จำนวน 28 อัตรา และวิศวกร จำนวน 16 อัตราและพนักงานชั่วคราว (Outsource) จำนวน 30 อัตรา สนับสนุนงานศูนย์ประกอบการ (ไฟฟ้า/โยธา/แม่บ้าน/คนสวน/รักษาความปลอดภัย) (ตัวเลขอัตรากำลังข้างต้นเป็นตัวเลขประมาณการจากการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นเท่านั้น ทั้งนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตหากมีการศึกษาวิเคราะห์ในรายละเอียดเพิ่มเติม หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องมาจากนโยบายด้านการบริหารอัตรากำลังในอนาคต) พัฒนาบุคลากร โดยมุ่งเน้นในการพัฒนาบุคลากร ได้แก่ บุคลากรสำหรับการให้บริการควบคุมการจราจรทางอากาศและการใช้เทคโนโลยี และระบบอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้อง บุคลากรสำหรับการนำเทคโนโลยี ระบบอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก และระบบวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการควบคุมการจราจรทางอากาศเข้าใช้งาน และบุคลากรสนับสนุนอื่น ๆ
  • 4) ด้านการเตรียมความพร้อมเปิดให้บริการ เช่น การกำหนดขั้นตอนและแนวทางวิธีปฏิบัติ (Procedure) การฝึกอบรมการใช้อุปกรณ์ (Human Machine Interface : HMI) และฝึกอบรมทำความคุ้นเคยแนวทางวิธีปฏิบัติ และการดำเนินการด้านระบบการจัดการด้านนิรภัย (Safety Management System : SMS)

4.ประมาณการรายได้ ประกอบด้วย

  • 1) รายได้หลัก จากการให้บริการบริเวณสนามบินและเขตประชิดสนามบิน (Terminal Charge) ณ สนามบินอู่ตะเภา
  • 2) รายได้เพิ่มเติม จากการให้บริการตามเส้นทางบิน (En – route Charge) ที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดให้บริการ ณ สนามบินอู่ตะเภา และจากการให้บริการบริเวณสนามบินและเขตประชิดสนามบิน (Terminal Charge) ณ สนามบินภูมิภาคอื่นที่เป็นคู่สนามบินกับสนามบินอู่ตะเภาที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อเปิดให้บริการ

สำหรับประมาณการโครงสร้างและอัตราค่าบริการที่เรียกเก็บ ณ สนามบินอู่ตะเภา มีการคาดว่าจะมีการปรับอัตราค่าบริการเพิ่มขึ้นจากอัตราที่เรียกเก็บปัจจุบันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 ภายใต้อัตราค่าบริการขั้นสูง (Ceiling) อัตรา En – route Charge 3,500 บาทต่อหน่วย Terminal Charge 600 บาทต่อหน่วย จนถึงปี พ.ศ. 2574 และหลังจากนั้นเรียกเก็บค่าบริการตามอัตราต้นทุนค่าบริการตามคาดการณ์ปริมาณเที่ยวบินในแต่ละประเภทการทำการบินและตามประมาณการของประเภทอากาศยานที่ใช้ในการทำการบินในอนาคต

5.กรอบวงเงินลงทุน มีกรอบวงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น1,256 ล้านบาท โดยมีแผนการเบิกจ่ายลงทุนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 – 2568

6.แหล่งที่มาเงินลงทุน ใช้เงินกู้ในการดำเนินโครงการฯ กรอบวงเงินไม่เกิน 1,256 ล้านบาท ซึ่ง คค. ได้เสนอสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะเพื่อบรรจุแผนจัดหาเงินกู้ระยะยาวปีงบประมาณปี พ.ศ. 2566 แล้ว

7.ผลตอบแทนทางการเงิน โครงการฯ มีความคุ้มค่าในการลงทุน3โดยมีผลตอบแทนทางการเงิน ดังนี้ มีอัตราผลตอบแทนทางการเงิน (Financial Internal Rate of Return : FIRR) อยู่ที่ร้อยละ 4.26 มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV) ณ อัตราคิดลดเท่ากับร้อยละ 2.75 อยู่ที่ 68.59 ล้านบาท และ มีระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) 19 ปี 7 เดือน

8.ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ มีอัตราผลตอบแทนทางการเศรษฐกิจ (Economic Internal Rate of Return : EIRR) อยู่ที่ร้อยละ 56.96

และ มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ณ อัตราคิดลดเท่ากับร้อยละ 12 อยู่ที่ 2,575.05 ล้านบาท

9.การจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม พื้นที่ดำเนินโครงการฯ อยู่ภายในบริเวณพื้นที่โครงการก่อสร้างทางวิ่งที่ 2 และทางขับสนามบินอ่ตะเภา ซึ่งโครงการดังกล่าว เป็นโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ทร. ที่มีความจำเป็นต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ [Environmental and Health Impact Assessment (EHIA)] (ปัจจุบันคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 มีมติเห็นชอบรายงาน EHIA ของโครงการก่อสร้างทางวิ่งที่ 2 และทางขับสนามบินอู่ตะเภาแล้ว)

10.ประโยชน์ที่จะได้รับ

  • 1) สร้างโอกาสในการจ้างงาน การท่องเที่ยว และเพิ่มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
  • 2) การเพิ่มความปลอดภัยทางการบิน (Safety) ในพื้นที่
  • 3) เพิ่มความสามารถในการรองรับเที่ยวบินในบริเวณกรุงเทพมหานคร โดยการปรับปรุงพัฒนาเส้นทางการบินเพื่อช่วยลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ และเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับเที่ยวบิน
  • 4) ลดการกระจุกตัวของเที่ยวบินและลดความล่าช้าให้กับเที่ยวบินโดยเฉพาะเส้นทางบินทิศตะวันออกที่ทำการบินไปสู่กรุงเทพมหานคร