แผ่นดินไหว

News

ศ.ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัยถอดรหัส 8 วินาทีวิบัติ: พิสูจน์ด้วยหลักการเชิงฟิสิกส์

หลังจากได้ให้ข้อสันนิษฐานส่วนตัวเกี่ยวกับกลไกการวิบัติของอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ศ.ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย ราชบัณฑิตและวุฒิวิศวกร สรุปว่าการวิบัติครั้งนี้มีองค์ประกอบที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ 3 ประการ คือ ผมค่อนข้างมั่นใจว่าเป็นการยากที่จะมีกลไกการวิบัติแบบอื่น ที่จะพ้องกับองค์ประกอบทั้งสามนี้อย่างครบถ้วน จึงอยากเชิญชวนให้ช่วยกันค้นหาทฤษฎีอื่นๆ ที่สอดคล้องกับหลักฐานเชิงประจักษ์ทั้งสาม สรุปทฤษฎีกำแพงปล่องลิฟท์วิบัติ “การที่อาคารนี้มีรูปทรงไม่สมมาตรมาก เมื่อเกิดแผ่นดินไหวจึงทำให้อาคารเกิดการบิดตัวกลับทิศไปมา ส่งผลให้กำแพงปล่องลิฟท์และเสาเกิดการบิดตัวด้วย เมื่อกำแพงปล่องลิฟท์ซึ่งต้องรับแรงบิดส่วนใหญ่เกิดรับไม่ไหว (ด้วยสาเหตุที่คณะกรรมการต้องค้นหาต่อไป) จึงเกิดการวิบัติ

Read More
News

ถอดบทเรียนแผ่นดินไหว !! ประชาชนรับมืออย่างไร จากใจวิศวกร

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมาร์ จนส่งผลกระทบถึงประเทศไทยในพื้นที่หลายจังหวัด และเกิดความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือนเป็นวงกว้าง เหตุการณ์เช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศไทย ทำให้ประชาชนไทยส่วนใหญ่ไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างปลอดภัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านระบบสารสนเทศการจัดการภัยพิบัติและความเสี่ยง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาชิกศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการภัยพิบัติได้เผยวิธีการรับมือในแบบฉบับประชาชนที่สามารถปฏิบัติได้ ทั้งระหว่างและหลังเกิดเหตุว่าควรต้องปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อให้อยู่รอดปลอดภัยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ หากผู้ประสบภัยอยู่ภายในอาคารควรหาที่กำบังที่แข็งแรงเป็นอันดับแรก เช่น

Read More
News

วสท.ผนึก วช.จัดเสวนาผลกระทบแผ่นดินไหวขนาด7.7 ต่อกรุงเทพฯ- ปริมณฑล สร้างความตระหนักรู้แก่สาธารณชน

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด7.7 ศูนย์กลางที่ประเทศเมียนมา เขย่าถึงประเทศไทย ทำให้ประชาชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑลสามารถรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือน และเป็นเหตุให้อาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. ซึ่งอยู่ในระหว่างก่อสร้างถล่มลงมา ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นวงกว้าง  คณะอนุกรรมการผลกระทบจากแผ่นดินไหวและแรงลม วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ร่วมกับศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดเสวนาเรื่อง ผลกระทบของแผ่นดินไหว ขนาด

Read More
News

คำชี้แจงในกรรมาธิการเศรษฐกิจเรื่องเกี่ยวข้องอาคาร สตง ถล่มจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568

มุมมองคนอยู่ในแวดวงการออกแบบก่อสร้าง  อดีตคณะกรรมการของรัฐตาม พ.ร.บ.จัดซื้อ จัดจ้างฯ 1. ปัญหาอาคารที่พังถล่ม ยังไม่ข้อมูลแน่ชัดว่าเกิดสาเหตุใด  ต้องรอผลการศึกษาผู้เชี่ยวชาญชุดที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง มอบหมายเมื่อวันอังคาร 8 เมษายน 2568 2. ชนิดของเหล็กที่ใช้ยังไม่สามารถระบุเหตุผลทางวิชาการอันใดว่าเกี่ยวข้องอาคารถล่มได้เพราะเหล็ก T และ IF ตามที่ปรากฏเป็นข่าวมีมาตรฐานมอก รองรับและใช้กับอาคารในประเทศไทยมานานแล้ว 3.

Read More
News

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน ตั้งคณะทำงานช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาฟรีพร้อมข้อมูล ‘บ้าน’ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุ ‘แผ่นดินไหว’

สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน ตั้งคณะทำงาน “ช่วยเหลือ – ให้คำปรึกษา” ฟรี บ้านที่ได้ผลกระทบจาก “แผ่นดินไหว” เริ่ม 1 – 30 เมษายน 2568 มอบความห่วงใยผู้บริโภค แนะเร่งตรวจสอบความเสียหายเบื้องต้น 3 แนวทาง นายอนันต์กร อมรวาที นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน (Home Builder Association : HBA) เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านในฐานะองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนธุรกิจรับสร้างบ้าน

Read More
News

กระทรวง อว. – สกสว. เปิดแผนยุทธศาสตร์รับมือแผ่นดินไหว ชี้แอ่งดินอ่อนในกรุงเทพฯ เป็นปัจจัยเสี่ยง เร่งพัฒนาเทคโนโลยี ววน.

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) พร้อมภาครัฐและนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญ จัดเวทีเสวนา “ก้าวข้ามธรณีพิโรธ: นวัตกรรม ววน. พลิกเกมภัยแผ่นดินไหว เพื่ออนาคตที่ปลอดภัยของไทย” เพื่อถอดบทเรียนจากกรณีแผ่นดินไหวที่ส่งผลกระทบต่อกรุงเทพมหานคร พร้อมเปิดตัวเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ที่สามารถนำมาใช้รับมือภัยพิบัติในทุกมิติ และมุ่งเน้นแนวทางเสริมความปลอดภัย

Read More
News

แนวทางการตรวจสอบรอยร้าวและการซ่อมแซมโครงสร้างที่ได้รับความเสียหายเบื้องต้น

หลังจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มี.ค. เริ่มคลี่คลายลง พบว่าอาคารจำนวนมากได้รับความเสียหาย และต้องมีการประเมินด้านความปลอดภัยก่อนการเข้าใช้อาคาร ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทยและอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยว่า ขณะนี้เจ้าของอาคารเริ่มตรวจสอบความเสียหายในอาคารของตนและเริ่มมีการซ่อมแซมแล้ว จึงจำเป็นต้องมีแนวทางตรวจสอบตามหลักวิศวกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นอาคารสูง โดยขอให้เน้นตรวจสอบรอยร้าวและการกะเทาะหลุดของคอนกรีตที่บริเวณเสาและผนังปล่องลิฟต์ของอาคาร เนื่องจากเป็นโครงสร้างหลักที่รับน้ำหนัก และมีจุดสังเกตว่ารอยร้าวและการกะเทาะหลุดของคอนกรีต จะเกิดขึ้นที่บริเวณโคนเสาด้านล่างและปลายเสาด้านบน โดยเฉพาะอาคารสูงให้ระวังรอยร้าวที่เสาชั้นล่างๆ และเสาที่บริเวณกึ่งกลางความสูง  ความเสียหายของรอยร้าวสามารถแบ่งได้เป็น

Read More
News

ข้อสังเกตเบื้องต้นกรณีการพังทลายของโครงสร้างอาคาร สตง. แห่งใหม่จากเหตุแผ่นดินไหว

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2568 เริ่มประมาณ 13.25 น. ณ จุดศูนย์กลางที่เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์ ด้วยขนาด 7.7 ซึ่งส่งแรงสั่นสะเทือนหลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ และหลายจังหวัด เหตุการณ์ที่สร้างความหวาดหวั่นสำหรับผู้ทำงานหรืออยู่อาศัยในอาคารสูง คือ การพังทลายอย่างง่ายดายสิ้นสุดภายในเพียง 8 วินาที ของโครงสร้างอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

Read More
News

นายก TSEA วิเคราะห์สาเหตุโครงสร้างถล่มจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่และรุนแรงมากที่สุดในไต้หวัน รับรู้ได้ไกลถึงไทเป และจีน

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.4 แมกนิจูด เกิดขึ้นนอกชายฝั่งตะวันออก ห่างออกไปทางทิศใต้ของเมืองหัวเหลียน ไต้หวัน ประมาณ 20 กิโลเมตร ในเรื่องนี้ ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย (TSEA) อธิบายว่า ตามข้อมูลจากหน่วยงานสำรวจธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา (USGS) สาเหตุของแผ่นดินไหวเกิดจากรอยเลื่อนย้อน (Reverse Faulting)

Read More
News

นักวิจัยถอดบทเรียนแผ่นดินไหวญี่ปุ่น ไทยอย่าประมาทสึนามิอันดามันยังเสี่ยง

นักวิจัยศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติถอดบทเรียนแผ่นดินไหวญี่ปุ่น เตือนประเทศไทยต้องเตรียมรับมือ ห่วงชายฝั่งทะเลอันดามันยังเสี่ยงต่อการเกิดสึนามิซ้ำรอยปี 2547

Read More
News

นักวิจัยม.มหิดลสร้างนวัตกรรมแบบจำลองประเมินความเสียหายแผ่นดินไหวด้วยพหุฟิสิกส์

หากไม่ได้ “สมการเคลื่อนที่” (Equation of Motion) บรรดาตึกสูงชื่อดังระดับโลกในปัจจุบันคงไม่อาจสู้แรงสั่นสะเทือนของเหตุแผ่นดินไหว  ในเรื่องนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานนท์ ลาชโรจน์ รองผู้อำนวยสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT)

Read More